Search
Close this search box.

ปลาฉลามทราย (ฉลามเสือทราย) ฟันแหลม กินพี่น้องตัวเอง ใกล้สูญพันธุ์

ภาพรวมเนื้อหา

ฉลามทราย หรือ ฉลามเสือทราย (Sand tiger shark) ชื่อวิทยาศาสตร์ Carcharias taurus เป็นหนึ่งในสามสายพันธุ์ของฉลามจัดอยู่ในจำพวก Carcharias และ Odontaspis ในวงศ์ Odontaspididae (อันดับ Lamniformes) ตั้งชื่อตามนิสัยนักล่าและพบบ่อยตามชายฝั่งในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย

ลักษณะภายนอก

ฉลามทรายมีสีน้ำตาลอมเทา มีลำตัวขนาดใหญ่และแข็งแรง มีความยาวตั้งแต่ประมาณ 2.25 เมตร มีจมูกแหลม เชิดขึ้น ปากใหญ่อยู่ด้านล่างของหัว ฟันแหลมคมเต็มปากซึ่งยื่นออกมาทุกทิศทางแม้จะปิดปากก็ตาม มีช่องเหงือก 5 ช่อง แต่ไม่ขยายไปถึงด้านบนของหัว ครีบหลัง 2 ครีบ ไม่มีหนามด้านหน้าที่พบในฉลามตัวอื่นๆ

อาหาร

ฉลามทรายกินปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และปลาหมึก โดยทั่วไปแล้วจะออกล่าในเวลากลางคืน ใกล้พื้นทรายใต้มหาสมุทร

จุดเด่นของฉลามทราย

  1. มีลูกน้อย 2 ปีครั้ง
    ฉลามทราย จะมีลูก 2 ปีครั้ง แต่ละครั้งจะมีลูกเพียง 2 ตัว โดยตัวหนึ่งมาจากมดลูกแต่ละข้าง เริ่มแรกมดลูกแต่ละข้างจะมีตัวอ่อนฉลามหลายตัว แต่จะถูกกินโดยตัวที่แข็งแรงที่สุดจนเหลือเพียงตัวเดียว
  2. โผล่เหนือน้ำเพื่อกลืนอากาศ
    ฉลามทรายเป็นฉลามชนิดเดียวที่ขึ้นสู่ผิวน้ำและกลืนอากาศลงไป แล้วกลั้นอากาศไว้ในท้อง เพื่อเลียนแบบกระเพาะลมของปลากระดูกแข็ง(ฉลามเป็นปลากระดูกอ่อน) ซึ่งช่วยให้มันลอยตัวอยู่ในน้ำนิ่งๆได้เพื่อล่าเหยื่อ

ความอันตรายต่อคน

โดยทั่วไปแล้วฉลามทรายถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก้าวร้าว เป็นที่รู้กันว่าจะโจมตีมนุษย์เมื่อถูกรบกวนก่อนเท่านั้น มีคนที่ถูกทำร้ายโดยฉลามทรายไม่บ่อย แต่จากทั้งหมด 36 ครั้งที่มีการรายงาน ก็ไม่พบว่าทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้ที่ถูกทำร้ายส่วนใหญ่เป็นนักว่ายน้ำ นักดำน้ำ หรือชาวประมง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฉลามทรายมีฟันที่ใหญ่ จึงควรระมัดระวังเมื่อพบเจอ

ใกล้สูญพันธุ์

ตามข้อมูลสูญพันธุ์ตาม IUCN Red list ปี 2562 ฉลามทราย หรือ ฉลามเสือทราย (C. taurus) ถูกจัดให้เป็นฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์

แชร์ไปยัง

บทความแนะนำ

คลิปบันเทิงจัดเต็ม

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แจ้งปัญหา/ฝากข่าว [email protected]
ภาพรวมเนื้อหา