Search
Close this search box.
ปลากัด

ปลากัด สายพันธุ์นักสู้ สู่ปลาสวยงามยอดนิยม

ภาพรวมเนื้อหา

ปลากัด (Siamese Fighting Fish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Betta splendens (Regan, 1910) เป็นปลาพื้นถิ่น ที่นิยมเลี้ยงกันมาแต่โบราณ ทั้งเพื่อความสวยงามและไว้แข่งปลากัด เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 1 ของไทยในประเภทปลาสวยงาม

สีดั้งเดิมของปลากัด จะเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น1 ในปัจจุบันมีการนำปลากัดผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อความสวยงาม ทั้งด้านรูปร่าง สีสัน และลวดลาย

  • เลี้ยงเพื่อการต่อสู้
  • เลี้ยงเพื่อความสวยงาม

สายพันธุ์ปลากัด

สายพันธุ์ปลากัดที่ถูกนำไปพัฒนาต่อทั้งในและต่างประเทศ

สายพันธุ์ลักษณะเด่น
ปลากัดไทย (Siamese Fighting Fish) สีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น
ปลากัดหม้อ (Shotfin Betta Splendens)ลำตัวใหญ่ สีเข้ม ปลานักสู้
ปลากัดจีนครีบยาว สีสวย หางแผ่ได้ถึง 180 องศา
ปลากัดเขมร (Cambodain Betta)สีอ่อนหรือสีเผือก
ลิบบี้
เดลต้า (ปลากัดหางสามเหลี่ยม)หางกางทำมุม 45-60 องศา
ซุปเปอร์เดลต้าหางแผ่กางใหญ่กว่าเดลต้า จนเกือบเป็นเส้นตรง
ฮาร์ฟมูน (ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก)หางแผ่เป็นครึ่งวงกลม 180 องศา
คราวน์เทล (ปลากัดหางมงกุฎ)หางแผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมจนถึงครึ่งวงกลม มีขอบเป็นซี่
ดับเบิ้ลเทล (ปลากัดสองหาง)

ศัพท์ปลากัด

  • ปลาสังกะสี เป็นลูกของปลากัดเก่งที่เลี้ยงไว้ผสมกับปลาป่าตัวเมีย
  • ปลาลูกหม้อ เป็นลูกที่ได้จากการผสมของปลาสังกะสี
  • ลูกแท้ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน
  • ลูกสับ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่างครอกกัน2
  • ลูกไล่ ปลาที่ไม่สู้ตัวอื่น
  • ก่อหวอด พฤติกรรมของตัวผู้ที่จะผสมพันธุ์ตัวเมีย
  • ถอดสี อาการตกใจยอมแพ้
  • ติดบิด ปลากัดในท่าที่หัวติดกัน ลำตัวบิดจนจมลงพื้น

ปลากัดจีนไม่ได้มาจากจีน

ปลากัดจีน เป็นปลากัดไทยที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จนได้ครีบและหางที่ยาว สีสวยฉูดฉาด เหมือนตัวงิ้วจึงเรียกว่า “ปลาจีน” จนคนเข้าใจผิดกัน

ปลากัดเขมรมาจากไหน

เป็นปลากัดสายพันธุ์เดียวกับไทย3 ซึ่งปลากัดสีอ่อนนี้มีมากในเขมร ได้มีการคัด ผสมกันมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2443

การแพ้ชนะของปลากัด

ส่วนใหญ่ปลากัดมักจะเหนื่อยและยอมแพ้ไปเอง จึงทำให้ได้ผู้ชนะ โดยตัวที่ยอมแพ้จะว่ายน้ำหนีหรือหันหางให้คู่ต่อสู้ ในบางครั้งหลังจากสู้จบ สภาพของปลาอาจดูสะบักสบอม ครีบของปลา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ปลากัด, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (https://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/fish/fightingfish.pdf) ↩︎
  2. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30 เรื่องที่ 7 ปลากัด (https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=7&page=t30-7-infodetail05.html) ↩︎
  3. มาตรฐานปลากัดสวยงามในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ.2559), สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง (https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200412181210_1_file.pdf) ↩︎

บทความแนะนำ

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แจ้งปัญหา/ฝากข่าว [email protected]
ภาพรวมเนื้อหา