Search
Close this search box.
อาการผู้หญิงวัยทอง

อาการแบบไหน ใช่อาการวัยทอง และวิธีดูแลตัวเอง

ภาพรวมเนื้อหา

ผู้หญิงแต่ละคน เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีอาการแตกต่างกันไป อาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนแบบกระทันหันในเวลาสั้นๆ โดยอาการจะเริ่มต้นได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของรังไข่ เช่น มะเร็ง การตัดมดลูก การสูบบุหรี่ มีโอกาสที่จะยิ่งทำให้อาการวัยทองนั้นรุนแรงและยาวนานมากขึ้น

อาการเริ่มต้นของวัยทอง

  • ความถี่ของประจำเดือนเริ่มน้อยลง
  • ประจำเดือนมามากหรือน้อยกว่าปกติต่อครั้ง
  • มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน หน้าแดง

อาการวัยทองอื่นๆ

  • นอนไม่หลับ
  • ช่องคลอดแห้ง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • ขี้หงุดหงิด
  • วิตกกังวล
  • เหงื่อออกมาก
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ จดจ่อกับอะไรได้ยากขึ้น
  • มีปัญหาเรื่องความจำ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ผิวแห้ง ปากแห้ง ตาแห้ง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดหัว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้อลดลง
  • มวลกระดูกลดลง
  • ปวดตามข้อ ข้อแข็ง
  • ผมบาง หลุดร่วง

วัยทองเกิดขึ้นได้ยังไง

วัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่ออายุเยอะขึ้นรังไข่สร้างฮอร์โมนต่างๆได้น้อยลง เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน เทสโทสเทอโรน และฮอร์โมนอื่นๆ โดยที่ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อตอบสนองฮอร์โมนที่ลดลง บางกรณีอาการวัยทองอาจเกิดขึ้นการการผ่าตัดเอารังไข่ออก เนื่องจากโรคบางอย่าง

การดูแลรักษาโดยแพทย์

อาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทอง บางคนอาจเป็นมากจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถเข้ารับการรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ, หน้าแดง, เหงื่อออกตอนกลางคืน ไปจนถึงโรคกระดูกพรุน และอาจมีการใช้ยาอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อดูแลรักษาอาการผมร่วง, ผมบาง, ช่องคลอดแห้ง, นอนไม่หลับ

ดูแลตัวเอง

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ ช่วยให้นอนหลับและอารมณ์ดีขึ้น
  2. ทานผักผลไม้เยอะๆ อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามิน D หลีกเลี่ยงอาหารที่จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เช่น แอลกอฮอล์, อาการเผ็ดร้อน
  3. ทานอาการที่มีโปรเจสเตอโรนสูง เพื่อทดแทนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายผลิตได้น้อยลง
  4. คุมน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักและไขมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงวัยทอง อาจทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ
  5. ดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยลดอาการผิวแห้งกร้าน และลดอาการท้องอืดการการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้
  6. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยหล่อลื่นช่องคลอด ในกรณีที่ช่องคลอดแห้ง จนรู้สึกไม่สบายตัว
  7. ฝึกสมาธิ ให้ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาความเครียดและอารมณ์ฉุนเฉียว
  8. ทานอาหารเสริมสำหรับวัยทอง เพื่อช่วยลดอาการต่างๆ โดยอาจปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเสริมที่กำลังทาน จะไม่ไปขัดกับยาที่ทานอยู่เป็นประจำ

ข้อมูลอ้างอิง
  1. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1037 (Accessed: 19 December 2022)
  2. https://www.healthline.com/health/menopause (Accessed: 19 December 2022)
  3. https://www.nia.nih.gov/health/what-menopause (Accessed: 19 December 2022)
  4. https://www.webmd.com/menopause/guide/menopause-basics (Accessed: 21 December 2022)
  5. https://www.healthline.com/nutrition/11-natural-menopause-tips (Accessed: 22 December 2022)

บทความแนะนำ

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แจ้งปัญหา/ฝากข่าว [email protected]
ภาพรวมเนื้อหา