Search
Close this search box.
น้ำไขข้อแห้ง

เข่าดังก๊อบแก๊บ อาจเกิดจาก น้ำไขข้อแห้ง สู่ข้อเข่าเสื่อม

ภาพรวมเนื้อหา

น้ำไขข้อ (Synovial Fluid) คือ ของเหลว ใส หนืด ไม่มีสีหรือสีเหลืองอ่อน คล้ายไข่ขาว ที่อยู่บริเวณข้อต่อ ลดการเสียดสีของกระดูกอ่อน ช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก

ถ้าเกิดการเจ็บป่วยต่างๆกับร่างกาย เช่น ข้ออักเสบ, เกาต์, ติดเชื้อ และภาวะเลือดออกง่าย อาจทำให้น้ำไขข้อมีความผิดปกติและอาจทำให้เกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวกับข้อต่อได้

น้ำไขข้อแห้ง

น้ำไขข้อแห้ง

องค์ประกอบหลักในน้ำไขข้อ ประกอบไปด้วย ลูบริซิน, โปรตีเนส, คอลลาจีเนส และพรอสตาแกลนดิน รวมไปถึง ไฮยาลูรอนอนุภาคใหญ่ (High molar mass hyaluronan) ทำหน้าที่สำคัญในการดูแล บำรุงรักษาข้อต่อ

  • ช่วยให้น้ำไขข้อมีความหนืด หนา ที่เหมาะสม ช่วยหล่อลื่น ป้องกันไม่ให้ข้อต่อสึกหรอ
  • ช่วยลำเลียงสารอาหาร ไปให้กระดูกอ่อนและโครงสร้างอื่นๆบริเวณข้อต่อ
  • ช่วยลดแรงกระแทกและกระจายแรงกดของข้อต่อ

เมื่ออายุเยอะขึ้น น้ำไขข้อจะเริ่มลดลง อาจทำให้เกิดภาวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ รวมไปจนถึงโรคข้อเข่าเสื่อม  อาการที่จะพบได้ถ้าน้ำไขข้อแห้ง คือ มีเสียงก๊อบแก๊บตามข้อ ปวด บวม ตึงบริเวณข้อเข่า

อาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำในข้อเข่า

อาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำไขข้อ

  • ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม บรอกโคลี
  • โอเมก้า-3 พบได้ในปลา ถั่ว และเมล็ดธัญพืช
  • เคอร์คูมิน พบได้ในขมิ้น
  • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น เบอรี่ หัวหอม กระเทียม

โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม มีโอกาสเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจเกิดได้ในคนที่อายุไม่มาก สาเหตุอาจมาจากกรรมพันธุ์, การบาดเจ็บ, การติดเชื้อ หรือน้ำหนักเกิน

ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่มีการกระแทกระหว่างข้อต่อ กระดูดอ่อน แล้วทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกัน จนเกิดอาการปวด บวม ตึง เคลื่อนไหวยาก ข้อแข็ง รู้สึกถึงความฝืด ติดขัดของข้อ

อาการของข้อเข่าเสื่อม

  • เจ็บตอนที่เคลื่อนไหว และจะดีขึ้นถ้าได้พัก
  • บวม
  • รู้สึกอุ่นๆในข้อ
  • ข้อเข่าตึงตอนเช้า หรือตอนที่นั่งนานๆ
  • เคลื่อนไหวลำบาก ลุกนั่ง ขึ้นบันได้ หรือเดินได้ไม่คล่องเหมือนเดิม
  • เข่าดังก๊อบแก๊บ ตอนที่ขยับ
รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม น้ำไขข้อแห้ง

การรักษาข้อเข่าเสื่อม

  • ลดน้ำหนัก สามารถช่วยลดอาการปวดเข่า จากโรคข้อเข่าเสื่อมได้
  • เพิ่มกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง
  • ใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ฉีดสเตียรอยด์หรือฉีดไฮยาลูรอนเข้าข้อเข่า เพื่อเพิ่มน้ำในข้อ
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อเข่า
  • ทำกายภาพบำบัด เพิ่มกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของข้อต่อ
  • ทำการผ่าตัดด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน
  • การรักษาทางเลือก เช่น ฝังเข็มหรือทานอาหารเสริม

แชร์ไปยัง

บทความแนะนำ

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240