ปลาฉลาม 87 ชนิด ในน่านน้ำไทย ทำความรู้จักฉลามประเภทต่างๆ

ภาพรวมเนื้อหา

ฉลามเป็นปลากระดูกอ่อน (โครงกระดูกกระดูกอ่อนที่มีความยืดหยุ่นได้) ปัจจุบันฉลามทั่วโลกมีประมาณ 520 สายพันธุ์1​ ฉลามทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อ คนส่วนใหญ่มักมองฉลามในมุมของความน่ากลัวและดุร้าย แต่จริงๆแล้วในบรรดาฉลามทั้งหมด มีแค่ไม่กี่สายพันธุ์ที่เป็นฉลามดุร้าย ได้แก่ ฉลามขาว ฉลามเสือ และ ฉลามหัวบาตร โดยในไทยพบแค่ ฉลามเสือ (Tiger shark) และ ฉลามหัวบาตร (Bull shark) เท่านั้น

ฉลามสายพันธุ์ต่างๆ มีสีที่หลากหลายตั้งแต่ สีเทาไปจนถึงครีม สีน้ำตาล เหลือง หินชนวน หรือสีน้ำเงิน บางสายพันธุ์อาจจะมีลวดลายเป็นจุด แถบ ลายหินอ่อน หรือส่วนที่ยื่นออกมา ฉลามที่ดูแปลกตาที่สุดคือฉลามหัวค้อน (Sphyrna) ที่มีหัวคล้ายกับค้อนสองหัวและมีตาอยู่ที่ก้านแต่ละข้าง และฉลามวอบเบกอง (วงศ์ Orectolobidae) ซึ่งมีผิวหนังคล้ายกับพื้นทะเลเพื่อพรางตัว2

อาหารของฉลาม

นิสัยการกินของฉลามจะแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ โดยปกติแล้วฉลามจะกินปลา หอย และสัตว์ที่มีเปลือกแข็ง บางตัวจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ปลาฉลามเป็นสัตว์ที่จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ถ้าเหยื่อที่ชอบหายาก ฉลามก็จะปรับนิสัยการกินให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่ ฉลามบางตัวกินสิ่งของต่างๆที่ตกลงไปในน้ำ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ขยะ และเสื้อผ้าที่ลงไปในน้ำ

ฉลามกินเนื้อ

ฉลามที่มีขนาดใหญ่ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล รวมไปถึงปลาขนาดใหญ่อย่าง ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ไปจนถึงกินปลาฉลามที่มีขนาดเล็กกว่าตัวเอง ฉลามบางตัวจุกจิกกับอาหาร จะกินเฉพาะสิ่งที่ชอบเท่านั้น เช่น

ฉลามหัวค้อนล่าปลากระเบน
  • ฉลามหัวค้อน (ตระกูล Sphyrnidae) ชอบกินปลากระเบน
  • ฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ชอบกินเต่า
  • ฉลามสีน้ำเงิน (Prionace glauca) ชอบกินปลาหมึก

ฉลามกินแพลงก์ตอน

ฉลามเหล่านี้กินแพลงก์ตอนอย่างอดทน และพวกมันไม่เป็นไปตามแนวคิดดั้งเดิมที่เรามีเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้ แต่มันเป็นเรื่องจริง และที่จริงแล้ว ฉลามตัวใหญ่บางตัวชอบแพลงก์ตอนมากกว่าเนื้อ ซึ่งรวมถึง

  • ฉลามวาฬ (Rhincodon Typus)
  • ฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus)
  • ฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios)

ฉลามจะใช้วิธีการดูดน้ำแล้วกรองอาหารด้วยเส้นใยยาวคล้ายกับหนวด สะสมไว้จนได้จำนวนหนึ่งแล้วกลืนทีเดียว โดยเฉลี่ยแล้วฉลามจะกรองน้ำประมาณ 2 ล้านลิตรทุกๆชั่วโมง แต่กรองได้แพลงก์ตอนมาแค่เพียง 2 กิโลกรัมเท่านั้น ในแต่ละวันฉลามกินอาหารเพียง 0.5 ถึง 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เพราะความสามารถในการเคี้ยวไม่ดีพอและใช้เวลามากในการย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารของฉลามสามารถแยกแยะสิ่งที่กินไปได้ ถ้ากินอาหารไม่ดีเข้าไป มันจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ แล้วขับออกทางปาก

ปริมาณอาหารที่ฉลามกิน

ปริมาณอาหารที่ฉลามกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับประเภทของปลาฉลาม ปลาฉลามบางสายพันธุ์จะกินมื้อใหญ่แล้วไม่กินไปอีกหลายสัปดาห์ โดยอาศัยน้ำมันที่สะสมอยู่ในตับ ฉลามส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น เผาผลาญพลังงานช้า จึงไม่จำเป็นต้องกินมากเท่าที่คนส่วนใหญ่คิด

ฉลามกินคน

โดยปกติแล้วฉลามไม่กินคนเป็นอาหาร แต่สาเหตุหลักที่คนโดนฉลามทำร้าย มักจะเกิดมาจากความเข้าใจผิดของฉลามที่มองว่าคนที่ว่ายน้ำอยู่เป็นปลาหรือเหยื่ออื่นๆ แต่ด้วยความที่ฉลามดุร้ายบางชนิดเมื่อจู่โจมเหยื่อจะกัดย้ำหลายครั้ง กว่าที่มันจะรู้ตัวว่าคนไม่ใช่อาหารของมัน ก็ทำให้เกิดแผลสาหัสไปแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนฉลามจู่โจม ไม่ควรเล่นน้ำตอนเช้ามืดหรือตอนค่ำ

ร่างกายส่วนต่างๆของฉลาม

สายพันธุ์ฉลาม

ในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์แต่ละชนิดจะถูกแยกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ(Classification) ตามลำดับ อาณาจักร -> ไฟลัม -> ชั้น -> อันดับ -> วงศ์ -> สกุล -> สปีชีส์3 ปลาฉลามทุกตัวจัดอยู่ในชั้น Chondrichthyes ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยคือ Holocephali และ Elasmobranchii ซึ่งใน Elasmobranchii ถูกแบ่งออกได้เป็นอีก 8 อันดับ ดังนี้

  • Carcharhiniformes
    เป็นอันดับที่ใหญ่ที่สุด รู้จักกันในชื่อ ฉลามหน้าดิน มีช่องเหงือก 5 ช่อง เปลือกตาขยับได้ มีครีบที่หลัง 2 อัน(ไม่มีกระดูกสันหลัง) มีครีบก้น และปากกว้าง มีฟันแหลมคม
  • Heterodontiformes
    ฉลามกลุ่มเล็กๆ ที่ปัจจุบันมีเพียง 9 สายพันธุ์ มีช่องเหงือก 5 ช่อง ครีบหลังมีกระดูกสันหลังแข็งแรง ฟันมีทั้งแหลมและแบน
  • Hexanchiformes
    ฉลามดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยมีช่องเหงือก 6 หรือ 7 ช่อง ครีบหลัง 1 ครีบ ครีบก้น และฟันแหลมคม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำลึกและเย็น
  • Lamniformes
    มีช่องเหงือก 5 ช่อง ปากใหญ่ ฟันแหลมคมหลายแถว ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบก้น และสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายให้สูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่ได้
  • Orectolobiformes
    เป็นอันดับของฉลามที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบที่หลัง 2 อัน(ไม่มีกระดูกสันหลัง) ครีบก้น และมีเกลียวใกล้ดวงตา ส่วนใหญ่ลายที่ผิว บางตัวก็มีหนวดที่คาง
  • Pristiophoriformes
    รู้จักกันในนามฉลามเลื่อยเพราะมีจมูกยาวคล้ายเลื่อย มีช่องเหงือก 5-6 ช่อง ครีบหลัง 2 ครีบ ไม่มีครีบก้น ครีบอกกว้าง ฟันขวาง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน่านน้ำชายฝั่งเขตร้อน
  • Squaliformes
    มีฉลามอยู่ในอันดับ Squaliformes มากถึงประมาณ 126 สายพันธุ์ พบได้ในทะเลเกือบทุกแห่ง มีจมูกยาว ปากสั้น มีช่องเหงือก 5 ช่อง ครีบหลัง 2 ครีบ และไม่มีครีบก้น ฉลาม Squaliformes ในน้ำลึกบางชนิดสามารถเรืองแสงได้
  • Squatiniformes
    ลำตัวแบน ปากมีแผ่นผิวหนังอยู่ด้านหน้า จมูกสั้น มีหนวด ดวงตาและเกลียวอยู่ข้างบน และไม่มีครีบก้น
ปลาฉลามในน่านน้ำไทย  87 ชนิด
ปลาฉลามในน่านน้ำไทย  87 ชนิด
รูปภาพโดยคุณทัศพล กระจ่างดารา และคณะ

รายชื่อปลาฉลาม 87 ชนิดในไทย

ชื่อภาษาไทยชื่อภาษาอังกฤษสถานะ
ฉลามกบIndonesian bambooshark
ฉลามกบจุดขาวWhitespotted bambooshark
ฉลามกบแถบน้ำตาลBrownbanded bambooshark
ฉลามกบเทาGrey bambooshark
ฉลามกบปากหนวดญี่ปุ่นJapanese wobbegong
ฉลามกบปากหนวดอินโดนีเซียIndonesian wobbegong
ฉลามกบลายหินอ่อนCoral catshark
ฉลามกบเหลืองSlender bambooshark
ฉลามกระโดงสูงSandbar sharkใกล้สูญพันธุ์
C. plumbeus (Nardo, 1827)
ฉลามขี้เซาTawny nurse sharkใกล้สูญพันธุ์
Nebrius ferrugineus (Lesson, 1831)
ฉลามเขี้ยวHooktooth sharkใกล้สูญพันธุ์
Chaenogaleus macrostoma (Bleeker, 1852)
ฉลามครีบชาวWhitetip reef shark
ฉลามครีบด่างBronze whaler
ฉลามครีบดำใหญ่Grey reef shark
ฉลามครีบยาวOceanic whitetip sharkใกล้สูญพันธุ์
C. longimanus (Poey, 1861)
ฉลามจมูกแข็งHardnose shark
ฉลามจมูกโตBignose shark
ฉลามจระเข้Crocodile shark
ฉลามจุดดำBlackspot shark
ฉลามตาฉีกSliteye shark
ฉลามตาเล็กPigeye shark
ฉลามท้องดำSculpted lanternshark
ฉลามท้องดำSmooth lanternshark
ฉลามท้องดำแคระPygmy lanternshark
ฉลามท้องโป่งจุดขาวSpeckled swellshark
ฉลามท้องโป่งแถบน้ำตาลIndian swellshark
ฉลามท้องโป่งลายอานม้าAustralian reticulated swellshark
ฉลามเทาDusky sharkใกล้สูญพันธุ์
C. obscurus (LeSueur, 1818)
ฉลามเทาSilky sharkใกล้สูญพันธุ์
C. falciformis (Müller & Henle, 1839)
ฉลามนางฟ้าจุด
(ฉลามนางฟ้า)
Ocellated angelsharkใกล้สูญพันธุ์
Squatina tergocellatoides Chen, 1963
ฉลามนางฟ้าอินโดนีเซียIndonesian angelshark
ฉลามปากกว้างMegamouth shark
ฉลามปากจิ้งจกSharpnose sevengill shark
ฉลามมาโกครีบยาวLongfin mako
ฉลามมาโกครีบสั้นShortfin mako
ฉลามแม่น้ำBorneo broadfin shark
ฉลามแม่น้ำGanges shark
ฉลามแมวแคระหางแถบPygmy ribbontail catshark
ฉลามแมวจุดดำBlackspotted catshark
ฉลามแมวจุดน้ำตาลMagnificent catshark
ฉลามแมวผิวสากBristly catshark
ฉลามแมวสีน้ำตาลMud catshark
ฉลามแมวหัวยาวLonghead catshark
ฉลามเลมอนครีบโค้งSicklefin lemon sharkใกล้สูญพันธุ์
Negaprion acutidens (Rüppell, 1837)
ฉลามวาฬWhale shark
ฉลามสั้นทองSnaggletooth sharkใกล้สูญพันธุ์
Hemipristis elongata (Klunzinger, 1871)
ฉลามสีน้ำเงินBlue shark
ฉลามเสือTiger shark
ฉลามเสือดาวZebra shark
ฉลามเสือทราย
(ฉลามทราย)
Sandtiger sharkใกล้สูญพันธุ์
Carcharias taurus Rafinesque, 1810
ฉลามหนามBramble shark
ฉลามหน้าวัวลายZebra bullhead shark
ฉลามหนูLost shark
ฉลามหนูแก้มขาวWhitecheek shark
ฉลามหนูครีบโค้งSicklefin weasel sharkใกล้สูญพันธุ์
Hemigaleus microstoma Bleeker, 1852
ฉลามหนูฟันตรงStraight-tooth weasel shark
ฉลามหนูฟันเอียงSlender weasel shark
ฉลามหนูหัวแบนSpadenose shark
ฉลามหนูหัวแบนทางดำPacific spadenose shark
ฉลามหนูหัวแหลมMilk shark
ฉลามหนูหัวแหลมเทาGrey sharpnose shark
ฉลามหนูอินโดนีเซียIndonesian whaler sharkใกล้สูญพันธุ์
C. tjutjot (Bleeker, 1852)
ฉลามหมาจมูกแข็งArabian smoothhound
ฉลามหมาจุดขาวเล็กWhitespotted gummy shark
ฉลามหมาจุดขาวใหญ่Starspotted smoothhound
ฉลามหมาตาโตBigeye houndshark
ฉลามหมาน้ำลึกMangalore houndshark
ฉลามหลังหนามครีบยาวBlackfin gulper shark
ฉลามหลังหนามครีบยาวGulper shark
ฉลามหลังหนามจมูกสั้นShortnose spurdog
ฉลามหลังหนามตาเขียวIndonesian greeneye spurdog
ฉลามหลังหนามหน้าสั้นIndonesian shortsnout spurdog
ฉลามหัวค้อนScalloped hammerhead
ฉลามหัวค้อนขอบเรียบSmooth hammerheadใกล้สูญพันธุ์
Sphyrna zygaena (Linnaeus, 1758)
ฉลามหัวค้อนยาวWinghead shark
ฉลามหัวค้อนใหญ่Great hammerhead
ฉลามหัวบาตรBull shark
ฉลามหางจุดSpottail shark
ฉลามหางดาบ
(ฉลามหางยาว)
Pelagic thresherใกล้สูญพันธุ์
Alopias pelagicus Nakamura, 1935
ฉลามหางยาวThresher sharkใกล้สูญพันธุ์
A. vulpinus (Bonnaterre, 1788)
ฉลามหางยาวตาโด
(ฉลามหางยาวหน้าหนู)
Bigeye thresherใกล้สูญพันธุ์
A. superciliosus (Lowe, 1841)
ฉลามหูขาวSilvertip sharkใกล้สูญพันธุ์
Carcharhinus albimarginatus (Rüppell, 1837)
ฉลามหูดำBlacktip reef shark
ฉลามหูดำGraceful shark
ฉลามหูดำSpinner shark
ฉลามหูดำเล็กBlacktip shark
ฉลามเหงือกหกช่องตาโตBigeye singill shark
ข้อมูลสูญพันธุ์ตาม IUCN Red list ปี 25624

กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย

ฉลามหลายสายพันธุ์เป็นสัตว์น้ำที่มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย มักถูกจับเพื่อนำครีบไปทำหูฉลาม ส่งผลให้จำนวนประชากรของฉลามลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยฉลามมีอัตราการขยายพันธุ์ต่ำ ใช้เวลานานในการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ ออกลูกน้อยครั้งละไม่กี่ตัว และใช้เวลานานกว่าจะโตเต็มวัยและพร้อมสืบพันธุ์ ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งทวีความเสี่ยงต่ออนาคตของฉลาม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ในที่สุด

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ทั่วโลกมีรายงานคนถูกฉลามจู่โจมน้อยมาก แต่ฉลามมนุษย์ล่ามากกว่า 70 ล้านตัวต่อปี”

นานาประเทศมีความวิตกกังวลกับสถานการณ์นี้ จึงมีการออกกฎหมายและมาตรการเพื่อเข้ามาดูแลจัดการประชากรของฉลาม

กฎหมายและมาตรการของประเทศไทย

  1. พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 (ฉบับแก้ไข)
  2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
  3. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
  4. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ. 2504
  5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  6. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558


พันธกรณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

พันธกรณีและตราสารระหว่างประเทศด้านการประมงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรฉลาม

  1. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nation Convention on the Law of the Sea)
  2. ความตกลงสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1982
  3. ความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า (Port State Measure Agreement: PSMA)
  4. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการด้านการอนุรักษ์และการจัดการระหว่างประเทศสำหรับเรือประมงในทะเลหลวง และความตกลงกำหนดความรับผิดชอบของรัฐเจ้าของธงสำหรับเรือประมงที่ทำการประมงในทะเลหลวง
  5. องค์การจัดการประมงระดับภูมิภาค(Regional Fisheries Management Organization: RFMOs)ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การจัดการประมงระดับภูมิภาคหลายองค์การ ได้แก่ IOTC และ SIOFA รวมทั งเป็นประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่ให้ความร่วมมือของ WCPFC นอกจากนี ยังมี

ตราสารที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายและตราสารระหว่างประเทศด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความร่วมมือ

  1. จรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries: CCRF)
  2. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)
  3. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD)
  4. อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่อพยพย้ายถิ่น (Convention on the Conservation of Migratory Species of Wild Animals: CMS)
  5. สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources: IUCN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีภารกิจหนึ่งในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  6. อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Convention on Wetlands of International Importance Especially as Waterfowl Habitat)
  7. โครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ซึ่งรับรองพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง คิดเป็นพื้นที่ 303 ตารางกิโลเมตร (ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (ระนอง), 2555)
  8. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Declaration on Heritage Parks)

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉลาม

ฉลามมีกี่ชนิด

ปัจจุบันฉลามทั่วโลกมีประมาณ 520 สายพันธุ์ และมีการระบุสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ ตามการค้นพบ

ฉลามมีกระดูกไหม

ไม่มี ฉลามและปลาอื่นๆ ที่อยู่ในชั้น Chondrichthyes (คอนดริชธีย์) ไม่มีกระดูก แต่มีโครงกระดูกอ่อน ซึ่งมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น แต่นุ่มกว่ากระดูกจริง คล้ายกระดูกอ่อนหลังหูของคน

ฉลามพันธุ์ไหนว่ายน้ำเร็วที่สุด

ฉลามมาโกครีบสั้น (Shortfin mako) สามารถว่ายน้ำความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม. จนสามารถไล่ล่าปลาที่ว่ายน้ำเร็วอย่างเช่น ปลาทูน่าและปลากระโทงดาบ ได้

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.floridamuseum.ufl.edu/discover-fish/sharks/faq/ ↩︎
  2. https://www.britannica.com/animal/shark (Accessed on: 11 April 2024) ↩︎
  3. https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-6952.html (Accessed on: 11 April 2024) ↩︎
  4. แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย พ.ศ.2563-2567, กรมประมง กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ↩︎
แชร์ไปยัง