Search
Close this search box.
โรคนอนกระตุก อันตรายไหม

โรคนอนกระตุก อันตรายไหม

ภาพรวมเนื้อหา

เชื่อว่าทุกคน น่าจะเคย รู้สึกพึ่งจะนอนเอง แต่อยู่ดีๆ ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมา โดยเฉพาะตอนที่เรานอนไม่เป็นที่ หรือเผลอหลับตอนกำลังดูโทรทัศน์อยู่ อาจจะฝันว่าตกวูบจากที่สูงบ้าง ลื่นล้มบ้าง หรือตกบรรได เมื่อสะดุ้ง กล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายกระตุก รู้สึกวูบ หัวใจเต้นรัว หรือหายใจเร็ว และเหงื่อออก เพราะตกใจ สงสัยไหม สะดุ้งตื่นกลางดึก (Hypnic jerk) นอนแล้วกระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้อาการนอนกระตุก และโรคนอนกระตุก อันตรายไหม หาคำตอบได้จากบทความนี้ ที่รวบรวมสาเหตุของอาการนอนกระตุกและวิธีป้องกันเบื้องต้นมาให้ได้อ่านกัน

เรามารู้จักกับนอนแล้วสะดุ้งหรือนอนแล้วกระตุก หรือเรียกอีกอย่างว่า (Hypnic jerk) คืออะไร เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างนอนหลับที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจและไม่รู้ตัว หรือภาวะหดตัวของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดสะดุ้งตื่นเวลานอน ซึ่ง hypnic ย่อมาจาก hypnagogic มีความหมายว่า สภาวะขณะกำลังจะหลับ ซึ่งอาจมีระดับความรุนแรงที่มากน้อยแตกต่างกัน เช่น บางคนมีอาการกระดิกนิ้วหัวแม่เท้า กระดิกเท้า หรือกระดิกนิ้วมือเป็นระยะ ๆ บางคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเตะถีบ ฟาดแขนฟาดขา หรือแม้กระทั่งกระตุกทั้งตัว จะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ อาจจะรู้สึกตัวแล้วก็หลับต่อ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกตัว หลายคนอาจสงสัยว่าอาการนอนสะดุ้งเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่าหากเกิดขึ้นบ่อย

โรคนอนกระตุก อันตรายไหม?

อาการกระตุกทำให้รู้สึกรำคาญและรบกวนการนอนหลับของเราและคนข้างๆ แต่ก็ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามีการกระตุกรุนแรง จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ถ้าหากตอนหลับ สะดุ้งบ่อยๆ ทำให้รู้สึกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในตอนเช้าและง่วงในเวลากลางวันได้ อาการสะดุ้งหรือกระตุกจะมีประมาณ 70%

9 นอนแล้วกระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. ความเครียด ความวิตกกังวลก่อนการนอนหลับการอดนอน
  2. การได้รับยาบรรเทาอาการซึมเศร้า
  3. ปฏิกิริยาที่สับสนของสมอง
  4. เกิดจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ไต โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
  5. การออกกำลังกายดึกเกินไป หรือหนักก่อนนอน
  6. การอดนอน นอนหลับไม่เพียงพอ และภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ
  7. การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  8. การสืบบุหรี่นั้นมีสารอย่างนิโคตินเป็นสารกระตุ้น
  9. การกินยาคลายเครียดบางชนิด

5 วิธีแก้อาการนอนกระตุก หรือนอนสะดุ้ง

  1. ทำกิจกรรมผ่อนคลายเบา ๆ ก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ เล่นโยคะ นั่งสมาธิเพื่อลดความเครียดและความกังวล
  2. เปลี่ยนเวลาในการออกกำลังกายไม่ให้ใกล้เวลานอนมากเกินไป ออกกำลังกายให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่าน้อย 90 นาที
  3. งดดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง หรือลดปริมาณคาเฟอีนและงดคาเฟอีนในช่วงบ่ายไปจนถึงก่อนนอน
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และสารกระตุ้นอื่น ๆก่อนเข้านอน
  5. งดเล่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อย่างโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ท และคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที
แชร์ไปยัง

บทความแนะนำ

ติดตามพวกเราได้ที่
ME AND YOU ENTERTAINMENT CO., LTD.
เลขที่ 111 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
แจ้งปัญหา/ฝากข่าว [email protected]
ภาพรวมเนื้อหา